ความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต


                
                   การศึกษาเริ่มขึ้นมาพร้อมๆ  กับที่มนุษย์อุบัติขึ้นมาในโลก   มนุษย์รู้จักพิศวงสงสัยในสรรพสิ่งรอบตัวก็พยายามค้นหาคำตอบและความหมายของสิ่งเหล่านั้นเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นแล้วนำความรู้   ความเข้าใจและประสบการณ์นั้นมาปรับปรุงแก้ไขปัญหาการดำเนินชีวิตของตนและหมู่คณะในสังคม   นอกจากนี้   ยังมีการถ่ายทอดความรู้   ความเข้าใจ   ตลอดจนประสบการณ์ทั้งหลายทั้งมวลให้แก่สมาชิกใหม่เรื่อยมา   เพื่อทุ่นเวลาและหลีกเลี่ยงการลองผิดลองถูกในเรื่องเดียวกันที่คนรุ่นก่อนได้ค้นพบแล้ว   อย่างไรก็ดี   เมื่อวันเวลาผ่านไปสภาพสังคมเปลี่ยนไป   กล่าวคือ   สังคมมีความสลับซับซ้อนขึ้นพร้อมๆ  กับความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและมากมาย   การให้การศึกษาซึ่งสถาบันครอบครัวเคยรับผิดชอบอยู่ย่อมไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมสมัยใหม่   จึงมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว   โดยเฉพาะซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บางคนเข้าใจเพียงแคบๆ ว่า   การศึกษาคือการเรียนหนังสือหรือการไปโรงเรียน   แท้จริงการศึกษามีความหมายมากกว่านั้น   เนื่องจากในชีวิตจริงคนเราสารถรับการศึกษาได้จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากโรงเรียน เช่น จากบ้านวัด   โรงงาน   ห้องสมุด   หนังสือพิมพ์   วิทยุ   โทรทัศน์หรือแม้แต่ข้างถนนหนทาง   และไร่นาป่าเขา   การศึกษาที่แท้จริงคือกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต   นับแต่เกิดจนตายทีเดียว
                การศึกษาตลอดชีวิตจึงเป็นกระบวนการทุกอย่างที่จัดให้มีหรือจัดหาโอกาสให้บุคคลได้เรียนรู้   เพื่อช่วยหล่อหลอมชีวิตจิตใจและความสามารถของมนุษย์   ทั้งนี้เพราะบุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์มักถูกกำหนดโดยปัจจัยหลายอย่าง  เช่น บิดา  มารดา   สังคม   ศาสนา   ระบบกรปกครอง   สภาพฟ้าดินฟ้าอากาศ   สื่อมวลชนและสิ่งแวดล้อมทั้งหลายทั้งปวง   การศึกษาจึงเกิดขึ้น   ไม่มีวันสิ้นสุด   เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย   ทุกสิ่งทุกอย่างที่หล่อหลอมร่างกาย   จิตใจ   อารมณ์  และความคิดของมนุษย์ล้วนอยู่ในการศึกษาทั้งสิ้น   เป็นการศึกษาจากประสบการณ์ทั้งหมดของชีวิต  การศึกจึงมิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในนอย่างผสมกัน  ทั้งนี้  เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้และคุณธรรมที่สังคมเห็นว่ามีความจำเป็นเป็นสิ่งที่ดีงามสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม   นอกเหนือจากการให้ความรู้และทักษะต่างๆ   เพื่อเตรียมบุคคลสำหรับการประกอบอาชีพ   ดังนั้น   การจัดการศึกษาตามแนวคิดของการศึกษาตลอดชีวิตมีลักษณะทั้งเป็นการศึกษาตามธรรมดาวิสัย (lmormal   Education)   การศึกษาในระบบ(Formal   Education)   และการศึกษานอกระบบโรงเรียน (Nonfomal  Education)   การศึกษาทั้งสามลักษณะที่กล่าวมานี้มีความสัมพันธ์และส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน  ทุกคนทุกวัยมีคนโอกาสได้รับศึกษาไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่งเสมอ
        

                   สรุปว่าการศึกษาตลอดจนชีวิตเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่มนุษย์เกิดจนตายที่จัดให้มีการถ่ายทอดความ  ทักษะ   และคุณธรรมที่เป็นความจำเป็นของสังคมด้วยกิจกรรมหลายๆ  อย่างผสมกันและจัดไว้ในที่ต่างๆ กัน   โดยมีรูปแบบต่าง ๆ  ทั้งในลักษณะที่เป็นระบบ   ไม่มีระบบ   และนอกระบบโรงเรียน  ทั้งนี้  มุ่งให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่  และทุกโอกาสโดยไม่จำกัดวัย   วุฒิ      และคุณสมบัติส่วนบุคคล  เพื่อให้คนได้พัฒนาตนทั้งด้านอาชีพส่วนตนและการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  เท่ากับเป็นการสร้างคุณค่ามนุษย์

                   ลักษณะวิธีให้มีการศึกษาเพื่อการศึกษาตลอดชีวิตนั้นมีได้3ลักษณะดังนี้
                   1. การศึกษาตามธรรมดาวิสัย  (Informal   Education)   การศึกษาลักษณะนี้เป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ  เป็นการเรียนรู้เองอยู่ทุกเวลาจากสิ่งแวดล้อม   จากสิ่งที่มีอยู่สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมและตามธรรมชาติ  ทุกคนในสังคมย่อมได้รับการศึกษาตามธรรมชาตินับตั้งแต่เกิดจนตาย  แหล่งการศึกษาลักษณะนี้คนเราได้รับจากพ่อ-แม่พี่น้องเพื่อนฝูง  หนังสือพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์   ภาพยนตร์ตามท้องไร่ท้องนาป่าเขา   โดยลักษณะที่ว่านี้รัฐหรือสังคมหรือบุคคลมิได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจลักษณะ   ไม่มีการจัดเป็นแต่ละคน  แม้แต่ล่ะบุคลระบบ   ไม่มีแบบแผน  แต่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเรียนรู้ทั้งหมดของบุคคลแต่ละคน   แม้แต่บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้เข้าโรงเรียนแล้ว   การศึกษาจึงเป็นกระบวนการศึกษาตลอดชีวิตที่บุคคลได้รับและสะสมความรู้  ทักษะเจตติ   และความเข้าใจจากประสบการณ์ในชีวิตประวันและสิ่งแวดล้อม          
                    2. การศึกษาในระบบโรงเรียน  (Formal  Education)  การศึกษาลักษณะนี้  รัฐเป็นผู้รับผิดชอบจัดตั้งโดยมีสถาบันการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ   โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างพลเมืองให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถตามทีวางแผนไว้    มีระเบียบและกำหนดกฎเกณฑ์การเข้าการออก  การเรียน   ระยะเวลาเรียน   การวัดผลและประเมินผล   ตลอดจนระเบียบต่าง ๆ ระบุไว้แน่ชัดสำหรับฝึกถือปฏิบัติ    ลักษณะวิธีการศึกษาแบบนี้   สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันทางสังคมที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วในแง่ความเชื่อและในแง่ตัวบทกฎหมาย  
                    3. การศึกษานอกระบบโรงเรียน  (Non-formal Education)    การศึกษาลักษณะนี้มีผู้รับผิดชอบจัดขึ้น  โดยมีความมุ่งหมายให้คนได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติม  หรือจัดให้เฉพาะผู้ที่ประสงค์จะเรียนตามความต้องการ   ความสนใจ   และความสะดวกของผู้เรียน   ซึ่งอาจจัดในรูปมีระบบและระเบียบแผนแต่ไม่เคร่งครัดอย่างการศึกษาในระบบโรงเรียน   การศึกษานอกระบบโรงเรียนในลักษณะนี้   ได้แก่   การจัดการศึกษาผู้ใหญ่   การฝึกการอบรม   การศึกษาอาชีพระยะสั้น   การสอนบทเรียนทางวิทยุและโทรทัศน์   เป็นต้น   โดยมุ่งให้รู้จักแก้ปัญหา   ฝึกอาชีพ   หรือพัฒนาความรู้เฉพาะตามความสนใจของพลเมือง                                                                                                                                                 
                    วิจิตร   ศรีสอ้าน   กล่าวว่าผลของการฝึกแนวความคิดเรื่องการศึกษาตลอดชีวิตเป็นหลักในการจัดการศึกษา   นอกเหนือจากการก่อให้เกิดการขยายขอบเขตและแนวการจัดการศึกษาแล้ว   ยังก่อให้เกิดวิธีการใหม่ทางการศึกษาอีกหลายอย่างที่สำคัญ   คือ   การจัดการศึกษาระบบเปิด (Open   Education)   ที่ใช้การศึกษาทางไกล  (Distance  Education)  ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศต่างๆ  ทั่วโลก   เนื่องจากวิทยาการก้าวหน้าเป็นปัจจัยเกื้อกูลชีวิต   สมาชิกของสังคมที่ใฝ่ความก้าวหน้าจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาในรูปแบบต่างๆ   เทคโนโลยีสมัยใหม่กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในอันที่จะเกื้อกูลกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต   มหาวิทยาลัยเปิดจึงเกิดขึ้น   เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาของผู้ใหญ่   โดยการใช้การศึกษาระบบเปิด   จึงได้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ระบบการสอนทางไกล   โดยอาศัยสื่อประสมขึ้นเป็นการเฉพาะ                                                     
                     นอกจากลักษณะวิธีให้การศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น  3  ลักษณะใหญ่ๆ  แล้วยังมีลักษณะอื่นๆ  ที่ไม่อาจจัดเข้าไว้ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน  3  ลักษณะ   แต่มีความเฉพาะในการจัดการศึกษา   คือ   การศึกษาผู้ใหญ่   การศึกษาต่อเนื่อง   การศึกษาภาคขยาย   การศึกษาชุมชน   การศึกษาต่อ   มูลสารศึกษาและการศึกษาตลอดชีวิตที่มีความหมายเฉพาะ   ดังนี้    
                     การศึกษาผู้ใหญ่  (Adult   Education)   คือ   ประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหลายที่จักขึ้นให้แก่ประชนที่พ้นเกณฑ์บังคับตามพระราชบัญญัติประถมศึกษานอกระบบการเรียนในโรงเรียนภาคปกติ 
                     การศึกษาต่อเนื่อง  (Continuing   Education)    เป็นกิจกรรมการศึกษาที่จัดขึ้นสำหรับประชากรที่ได้รับการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งและกิจกรรมทางการศึกษาให้บุคคลนั้นสามารถศึกษาต่อเนื่องได้ตามแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต
                      การศึกษาภาคขยาย  (Extension   Education)     หมายถึง   กิจกรรมการศึกษาที่จัดขึ้นเป็นภาคขยายของการการศึกษาในระบบโรงเรียนให้แก่ประชนที่อยู่นอกอาณาบริเวณสถาบันการศึกษา 
                      การศึกษาชุน  (Community   Education)    คือ   แนวคิดทางการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นและแนะแนวทางให้ชุมชนช่วยตนเองให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างสมดุลในทุก ๆ ด้าน
                      การศึกษาต่อ  (Further   Education)   หมายถึง   การศึกษาต่อซึ่งส่วนมากเป็นการศึกษาต่อในระบบโรงเรียน 
                      มูลสารการศึกษา  (Fundamental   Education   )  หมายถึง   การศึกษาสายสามัญต่ำสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา     
                      การศึกษาตลอดชีวิต  (Lifelong   Education)   คือ    การศึกษาจัดโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่   เป็นการศึกษาที่ต้องเป็นหลักในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้มากขึ้นโดยไม่คำนึงถึงว่าจะจัดที่ไหน   เมื่อไร   และอย่างไรเป็นการศึกษาที่ไม่เน้นเฉพาะทางวิชาการเท่านั้น    แต่รวมถึงการศึกษาด้านอาชีพการอยู่ดีกินดี   การพัฒนาด้านการรักสวยรักงาม   การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจด้วย
                     จะเห็นได้ว่าลักษณะของการศึกษาในวิธีและรูปแบบต่าง ๆ กับที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จัดอยู่ในแนวความคิดของการศึกษาตลอดชีวิตได้    ไม่ว่าจะจัดอย่างมีระบบแผนหรือไม่มีระบบและไม่ว่าจะมีการศึกษาในสถาบันการศึกษาหรือไม่มีสถาบันการศึกษาก็ในตาม    จุดเน้นของการศึกษาทั้งหมดจะอยู่ที่การดำรงชีวิตได้อย่างดีสังคมและสามารถสร้างคุณภาพชีวิตได้ด้วยดี ซึ่งเป็นแก่นของการศึกษาตลอดชีวิตนั่นเอง   กล่าวคือ   การศึกษาไม่อาจอยู่ในกรอบจำกัดแห่งเวลาและสถานบันที่ได้อีกต่อไป  นั่นคือ   การศึกษาคือการเรียนรู้ไม่ว่าที่ไหน   เมื่อไร   หรือด้วยวิธีการใด    ก็ได้    จึงถือเป็นกระบวนการต่อเนื่องตั้งแต่มนุษย์เกิดไปจนกระทั่งตาย 
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    

 

                                                                                                                            

                                                                                                                                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น